การแพ็คสินค้า แบบมืออาชีพ ให้ถึงมือลูกค้า อย่างปลอดภัย ไม่เกิดความเสียหาย

การแพ็คสินค้า

วิธีแพ็คกล่องไปรษณีย์ พัสดุ นั้นมีความจำเป็นมาก หากคุณเป็นพ่อค้า แม่ค้า มนุษย์ออฟฟิศ ที่ทำธุรกิจออนไลน์ และมีความจำเป็นจะต้องส่งของผ่านทางไปรษณีย์อยู่บ่อยๆ ไม่ว่าสิ่งของที่อยู่ด้านในนั้น จะเป็นวัสดุแบบไหน หากอ่านคู่มือทั้งหมดนี้ไว้ ก็อุ่นใจแน่นอน เพราะเราได้รวบรวมเคล็ดลับทั้งหมด 15 วิธีการแพ็คสินค้า มาไว้ให้ในบทความนี้แล้ว

จากที่ใครหลายๆ คนอาจจะกังวลใจไป ส่งพัสดุไปแล้ว จะต้องคอยลุ้นกันมั้ย ว่าของที่ส่งไปผู้รับจะได้รับถึงมือในสภาพปลอดภัย 100% แน่นอน มาถึงตรงนี้แล้วก็ขอให้ทุกคนปักหมุดไว้ แล้วแชร์วนไป คราวหน้าจะส่งพัสดุรับรอง ผู้รับจะต้องร้องโอ้โห นี่คือมืออาชีพอย่างแท้จริง มีอะไรบ้างไปดูกัน

สารบัญ

  1. ใช้บับเบิ้ลรองกระแทกดีต่อใจ
  2. เลือกขนาดกล่องให้เหมาะสม
  3. มาตรฐานของกล่องก็สำคัญ
  4. เลือกใช้กล่องใหม่ไฉไลกว่าใช้กล่องรียูส
  5. เลือกประเภทกล่องลูกฟูกที่เหมาะสม
  6. แพ็คพัสดุให้เหมาะกับสภาพฝนฟ้าอากาศ
  7. จัดวางสินค้า และจัดการพื้นที่ให้ดี
  8. บางครั้งอาจจะพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญดูบ้าง
  9. ติดป้าย FRAGILE ก็เพิ่มความปลอดภัยไปอีกขั้น
  10. ตรวจสอบความแน่นหนา ด้วยการเขย่ากล่องพัสดุ
  11. อุปกรณ์แหลมคมควรเสียบโฟมป้องกันไว้
  12. ห่อถุงพลาสติกอีกชั้น สำหรับส่งสินค้าที่เป็นของเหลว
  13. ติดเทปกาวบนกล่องรูปตัว H
  14. การส่งของที่แตกหักได้ง่าย
  15. ใส่เบอร์โทรทั้งสองฝ่ายไว้ จะได้ประสานงานไวขึ้น
  16. ทิ้งท้าย
27 ฿330 ฿
17 ฿216 ฿
13 ฿200 ฿
฿134 ฿
฿110 ฿

1. ใช้บับเบิ้ลรองกระแทกดีต่อใจ

อุปกรณ์พื้นฐานยอดนิยม ที่ผู้ที่คลุกคลีกับวงการส่งไปรษณีย์ต้องรู้ เพราะ แผ่นรองกระแทก หรือบับเบิ้ล ไอเท็มขวัญใจเด็กๆ ที่ชอบเอาไว้บีบเล่นนั้น ไม่ได้มีดีแค่เป็นของเล่นอย่างเดียว แต่คุณสมบัติหลักๆ ของบับเบิ้ลนั้นจะช่วยดูดซับแรงกระแทก เมื่อสิ่งของทั้งหลายในกล่องเกิดการเขย่า หรือการกระแทกไปมา ทำให้คุณอุ่นใจไปอีกสเต็ปว่า ของที่อยู่ภายในกล่องนั้น มีเกราะป้องกันความเสี่ยงที่ของด้านในจะเสียหายให้แล้ว

เพราะฉะนั้น ก่อนจะส่งพัสดุที่มีความเสี่ยงว่าหากถูกกระแทก หรือถูกโยนแล้วจะเสียหาย ให้ ห่อบับเบิ้ลวนไป ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ บับเบิ้ลมีน้ำหนักเบา ถึงแม้จะห่อซัก 2-3 รอบ น้ำหนักก็ไม่ได้เพิ่มอะไรมาก ค่าส่งไปรษณีย์ก็ไม่ได้พุ่งพรวดอะไรไปมากด้วยเช่นกันครับ

กลับสู่สารบัญ

2. เลือกขนาดกล่องให้เหมาะสม

การเลือกขนาดกล่องให้ถูกไซส์ เหมาะสมกับตัวพัสดุนั้น นอกจากจะทำให้การห่อพัสดุนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดาย ยังเป็นการลดความเสียหายของพัสดุด้านใน อีกวิธีนึงอีกด้วย ทริคง่ายๆ หากไปแพคของที่ไปรษณีย์ หรือขนส่งเอกชน ให้ลองเทียบไซส์ของที่เรามีกับกล่องที่มีให้เราเลือก หากไม่แน่ใจ แนะนำว่าลองวางพัสดุแล้วห่อหุ้มดู ว่าเหลือที่ว่างเยอะมั้ย หากที่ว่างยังเหลือมาก ขนาดที่เราลองเขย่าแล้วยังมีพื้นที่ว่างอีกเพียบ แนะนำให้เปลี่ยนขนาดกล่องให้ไว

เพราะว่ายิ่งมีพื้นที่ว่างเพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงที่สิ่งของนั้นจะกระแทกไปมาก็เพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย แต่ถ้าหากยังหาไซส์ของกล่องที่เหมาะสมไม่ได้ ยังคงมีอีกวิธีหนึ่งคือการใช้บริการรับผลิตกล่อง ให้ขนาดของกล่องไปรษณีย์พอดีกับขนาดพัสดุของเรา วิธีนี้นอกจะจะช่วยลดขนาดที่ว่างภายในกล่องที่ไม่จำเป็นแล้ว อาจจะช่วยประหยัดค่าส่งสินค้าได้ด้วย เนื่องจากบริษัทขนส่งเอกชนหลายๆ ที่ คิดค่าจัดส่งตามขนาดกล่อง กว้าง + ยาว + สูง นั่นเอง

กลับสู่สารบัญ

3. มาตรฐานของกล่อง

อย่าได้หวั่นไหวกับของถูก อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจไป หากจะส่งของไปให้ใครก็ตาม ยิ่งเป็นในระยะทางไกลมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะต้องให้ความสำคัญ กับมาตรฐานของกล่องมากขึ้นเท่านั้น เพราะการเลือกกล่องพัสดุ ยิ่งมีราคามากขึ้นเท่าไหร่ กล่องก็จะยิ่งมีมาตรฐานดีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

เพราะฉะนั้น เรื่องมาตรฐานของกล่อง จึงเป็นสิ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามไป อย่าเลือกแค่มีเกณฑ์การตัดสินที่ว่า ของมันถูก คุณภาพที่คุณได้ก็จะถูกตามไปด้วย แต่ความเสียหายที่ได้มา อาจจะต้องเสียเงินเพิ่มแบบไม่คุ้มค่าด้วย หากอยากได้กล่องดีมีมาตรฐาน อย่าลืมมองหา Supplier รับผลิตกล่องที่มีมาตรฐาน ไว้ใจได้กันด้วยนะครับ

กลับสู่สารบัญ

4. เลือกใช้กล่องใหม่แทนการใช้กล่องรียูส

เข้าใจว่าเรื่องของการรักษ์โลกมันก็ต้องมี แต่ถ้าหากคุณเป็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์มืออาชีพแล้ว เราแนะนำให้ใช้กล่องใหม่จะไฉไลกว่า คุณจะได้เครดิต ภาพลักษณ์ที่ดีว่าสั่งของจากร้านนี้ใช้กล่องใหม่ได้คุณภาพนะ นอกจากนี้ที่สำคัญคือ 70% นั้น คือ ตัวเลขของการรองรับการกระแทก หากใช้พัสดุใหม่ที่ไร้รอยแตก รอยพับ เพราะฉะนั้น หากมีโอกาสเลือก ให้เลือกกล่องใหม่ เพื่อความคุ้มค่า พัสดุถึงทันใจ ไม่ต้องมานั่งกังวลมานั่งลุ้น กับความเสียหายภายหลังนะครับ

กลับสู่สารบัญ

5. เลือกประเภทกล่องลูกฟูกที่เหมาะสม

การเลือกประเภทกล่องลูกฟูกที่เหมาะสมนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่จะต้องคำนึงถึง เนื่องจากกล่องพัสดุแต่ละกล่องนั้น ใช้กระดาษที่ไม่เหมือนกัน ความหนา จำนวนชั้นก็ต่างกัน เช่นเดียวกันกับคุณสมบัติการกันกระแทก หรือความอยู่ทน อยู่นานที่ถูกออกแบบมาอย่างแตกต่างกัน

เช่น การบรรจุสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก และขนาดใหญ่ อาจจะต้องใช้กล่องที่มีความหนา 5 ชั้นแทน เป็นต้น หากคุณไม่แน่ใจ เราแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือจะปรึกษาเราดูก่อนก็ได้ครับว่าสินค้า น้ำหนักและขนาดเท่านี้ ควรจะใช้กล่องประเภทไหน ถึงจะบรรจุสินค้าได้อย่างเหมาะสมที่สุดครับ

กลับสู่สารบัญ

6. แพ็คพัสดุให้เหมาะกับสภาพฝนฟ้าอากาศ

บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่า มันมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร แต่จะบอกว่า สภาพอากาศ เป็นอีกปัจจัยสำคัญถ้าคิดจะส่งพัสดุ ลองคิดภาพตามดูง่ายๆ ว่า ต่อให้แพ็คของอย่างแน่นหนามากแค่ไหน แต่อาจหลีกเลี่ยงที่ต้องส่งของในช่วงหน้าฝนไม่ได้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ เราจะสามารถทำให้พัสดุด้านในนั้น ปลอดภัยได้อย่างไรบ้าง หากพัสดุเปียกน้ำแล้วจะเสียหายมากเท่าไหร่ โดยเฉพาะในเคสที่พัสดุข้างในเป็นกระดาษ หรือวัสดุที่เปียกชื้นแล้วจะสร้างความเสียหายมาให้ แนะนำให้ใส่พลาสติกกันไว้อีกชั้น จะได้อุ่นใจมากขึ้นกับการส่งพัสดุฝ่าหน้าฝนไปได้ชิลๆ ครับ

กลับสู่สารบัญ

7. จัดวางสินค้า และจัดการพื้นที่ให้ดี

การจัดวางสินค้าที่ดี ใครว่าไม่สำคัญ เพราะการจัดการนั้นเอามาใช้ได้ทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่เรื่องการส่งพัสดุ ในกรณีที่มีการส่งพัสดุมากกว่า 1 ชิ้นขึ้นไป ในกล่องเดียว ควรจะจัดวางเผื่อการกระแทก การชนกันของวัตถุด้วย ลองนึกดูจากกรณีง่ายๆ ว่าถ้าวางของไปผิดทิศทาง สิ่งของที่อยู่ในนั้นก็อาจจะทิ่มทะลุกัน

หรือกระแทกกันจนแตกทำให้ความเสียหายเพิ่มคูณ 2 ได้ หรือหากต้องส่งพัสดุที่มีน้ำหนักมากหลายชิ้น ก็ควรวางกระจายน้ำหนักให้ดี ไม่ให้จุดใดจุดหนึ่งของกล่องต้องรับน้ำหนักมากเกินไป และควรใส่ของที่มีน้ำหนักเยอะไว้ด้านล่างของที่มีน้ำหนักเบา เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งของด้านในทับกันเสียหายด้วยนะครับ

กลับสู่สารบัญ

8. บางครั้งอาจจะพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญดูบ้าง

หากจำเป็นต้องส่งพัสดุที่สำคัญ แต่ประสบการณ์ส่งของมีไม่มากพอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียหายของพัสดุ เราควรจะต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นพนักงานของทางไปรษณีย์ หรือบริษัทที่รับส่งพัสดุโดยตรงเลยก็ได้ ดังนั้น อย่าลืมว่าหากเป็นครั้งแรกๆ ของคุณและไม่อยากพลาด แนะนำว่าให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า เพื่อให้มั่นใจได้ว่า พัสดุที่จะส่งไปถึงมือผู้รับโดยไม่ได้รับความเสียหายอย่างแน่นอน

กลับสู่สารบัญ

9. ติดป้าย FRAGILE ก็เพิ่มความปลอดภัยไปอีกขั้น

หากจะต้องส่งพัสดุที่มีความเสี่ยงที่โยน กระแทกแล้วจะทำให้พัสดุเสียหาย หรือแตกกระจายได้ แนะนำให้ติดป้าย FRAGILE ที่ทางไปรษณีย์หรือบริษัทเอกชน มักจะมีให้ในบางที่ ตรงนี้ก็จะเพิ่มเลเวลความระมัดระวัง ของผู้ส่งของให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเห็นสติกเกอร์ที่บอกเป็นนัยๆ ว่าของแตกหักง่ายนะ ห้ามโยนโดยเด็ดขาด

หรือหากไม่มีจริงๆ ก็อาจจะเขียนข้อความตัวใหญ่ๆ ด้วยภาษาไพเราะๆ ให้ง่ายต่อการมองเห็น พนักงานที่ส่งพัสดุเห็นก็จะได้ไม่โยน ไม่กระแทกกล่องไปรษณีย์ของเรา แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าต่อให้ติดสติ๊กเกอร์ หรือเขียนอะไรไว้ก็แล้วแต่ บางครั้งก็อาจจะไม่ได้รับความสนใจจากพนังงาน เราจึงต้องใช้เทคนิคอื่นๆ ประกอบด้วย เพื่อให้พัสดุเราปลอดภัยจนถึงมือผู้รับนะครับ

กลับสู่สารบัญ

10. ตรวจสอบความแน่นหนา ด้วยการเขย่ากล่องพัสดุ

อีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบความแน่นหนาของกล่องพัสดุ จะได้รู้ว่าเราแพ็คดีพอ หรือยัง แน่นหนาพอที่จะรองรับการกระแทกได้หรือยัง ในกรณีนี้หากตรวจสอบความแน่นหนาด้วยการเขย่ากล่องแล้ว ของด้านในยังเลื่อนไปมาได้อยู่ แนะนำให้เปลี่ยนไซส์กล่องกระดาษ หรือจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือโฟมกันกระแทกยัดไว้ในช่องว่างที่มีในตัวกล่อง เพื่อเพิ่มเลเวลความมั่นใจในการส่งไปอีกระดับนะครับ

กลับสู่สารบัญ

11. อุปกรณ์แหลมคมควรเสียบโฟมป้องกันไว้

หากมีความจำเป็นที่จะต้องส่งอุปกรณ์แหลมคม เช่น กรรไกร มีด กรรไกรตัดกิ่ง จอบ เสียม ที่มีคม แนะนำให้ใส่โฟมกันกระแทก ไว้ที่ตรงปลายแหลมคมเป็นลำดับแรก ต่อจากนั้นอาจจะหุ้มต่อด้วยบับเบิ้ล กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือจะเป็นพลาสติกกันกระแทกในรูปแบบต่างๆ ให้เรียบร้อย

เพื่อป้องกันส่วนที่มีคมจะทำความเสียหายแก่สินค้าที่ส่งไปพร้อมกัน หรือแม้แต่ตัวกล่องพัสดุเอง เพิ่มความมั่นใจให้กับพัสดุไปอีกระดับ เพราะอุปกรณ์แหลมคมไม่เข้าใครออกใคร หากจะต้องเคลื่อนย้าย หรือถูกกระแทกนั้น มีความเสี่ยงสูงที่จะไปทิ่มแทงกล่องให้ขาดได้ง่ายๆ ด้วยนะครับ

กลับสู่สารบัญ

12. ห่อถุงพลาสติกอีกชั้น สำหรับส่งสินค้าที่เป็นของเหลว

หากต้องส่งสินค้าที่เป็นของเหลว เช่น เครื่องดื่ม น้ำหอม ครีม เจลต่างๆ ที่บรรจุภัณฑ์มาในรูปแบบขวด และเสี่ยงต่อการโดนกระแทก และแตกหากเกิดการโยน ควรจะใช้เทปติดตรงฝา หรือจุกไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ฝา หรือจุกหลุดออกมาระหว่างขนส่ง ห่อด้วยบับเบิ้ล แล้วใส่ถุงพลาสติกที่มีซิปล็อคทับแยกชิ้นไปเลย เพื่อความปลอดภัย เพราะหากเกิดการแตกระหว่างขนส่ง พัสดุที่ห่อแยกชิ้นจะทำให้การแตกกระจายของของเหลวนั้น ยังรั่วซึมอยู่ในถุงพลาสติกที่ห่อหุ้ม จะได้ไม่ปนกันกับของเหลวชนิดอื่นๆ ซึ่งอาจจะเพิ่มความเสียหายให้ทวียิ่งขึ้นไปได้

กลับสู่สารบัญ

13. ติดเทปกาวบนกล่องรูปตัว H

เทคนิคนี้จะใช้สำหรับกล่องพัสดุแบบฝาชน วิธีการคือ ให้แปะเทปกาวขั้นแรกตรงช่องกลางระหว่างกล่อง ที่ฝาสองด้านมาบรรจบกัน ขั้นตอนต่อไปก็คือ ให้ใช้เทปกาวแปะตรงขอบกล่องพัสดุทั้งสองด้าน โดยแปะยาวลงมา เท่านี้เป็นอันเสร็จสิ้น เราก็ได้ให้ความมั่นคง แน่นหนาแก่พัสดุไปอีกระดับ แต่เทปกาวขอให้ใช้เป็นเทปกาวที่หนา และใหญ่ สามารถครอบคลุมพื้นที่ของพัสดุให้ยึดติดกันได้ด้วยนะครับ

กลับสู่สารบัญ

14. การส่งของที่แตกหักได้ง่าย

พัสดุที่แตกหักง่าย เช่น เซรามิค แก้ว สิ่งของประเภทงานแฮนด์เมด วิธีการหุ้มห่อให้ปลอดภัยผู้ใช้บริการ สามารถดำเนินการได้ดังนี้ แยกห่อสิ่งของแต่ละชิ้นด้วยแผ่น EPE โฟม หลังจากนั้นติดเทปกาวให้แน่นหนา และห่อด้วยพลาสติกกันกระแทก Bubble Wrap เพิ่มอีกหนึ่งชั้น ติดเทปกาวบนกล่องให้เป็นรูปตัว H และติดวัสดุแข็งรูปตัว L บริเวณมุมกล่องทั้ง 4 ด้าน เพื่อความแข็งแรง พร้อมทั้งใช้เทคนิคซ้อนกล่องอีก 1 ใบ กรุช่องว่างด้านในด้วยกระดาษ หรือโฟมอีกครั้งก่อนปิดผนึกกล่องด้วยเทปกาว ที่สำคัญห้ามลืมเขียน หรือติดสติกเกอร์ข้อความ ระวังแตก บนกล่อง และตรวจสอบความแน่นหนา โดยการเขย่าแล้วจะต้องไม่ได้ยินเสียง

กลับสู่สารบัญ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

15. ใส่เบอร์โทรทั้งสองฝ่ายไว้ จะได้ประสานงานไวขึ้น

ไม่ว่าคุณจะส่งพัสดุกับไปรษณีย์ หรือกับบริษัทเอกชน อาจจะมีสิ่งที่ไม่คาดคิด หรือปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างพัสดุเดินทางไปหาผู้รับ สิ่งเล็กน้อยที่คุณไม่ควรจะมองข้ามไปนั่นก็คือ การใส่เบอร์โทรศัพท์ของผู้รับ และผู้ส่ง ที่ปัจจุบันมักจะมีช่องให้กรอกเบอร์โทรศัพท์อยู่แล้ว หากมีเบอร์สำรองก็ใส่ไปด้วยก็ดีครับ อย่าลืมตรวจเช็คให้ดีว่าต้องเป็นเบอร์ที่สามารถติดต่อได้นะครับ หากมีเหตุขัดข้องอะไร หรือคนส่งพัสดุที่ไปถึงที่แล้ว จะได้สามารถติดต่อผู้รับได้ทันใจ ตรงนี้ก็จะทำให้การส่งพัสดุมีความราบรื่นมากขึ้นนะครับ

กลับสู่สารบัญ

ทิ้งท้าย

ทั้ง 15 ข้อนี้ถือเป็นคัมภีร์ฉบับขั้นสุดยอด หากทำตามข้อปฏิบัติพวกนี้ได้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยง ทำให้สินค้าที่ส่งผ่านทางไปรษณีย์ หรือบริษัทขนส่งเอกชนนั้น จะไปถึงมือผู้รับได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ถ้าหากคุณกำลังมองหากล่องไปรษณีย์ที่มีมาตรฐาน อย่าลืมลองมาปรึกษา MY EXPRESS ดูก่อนนะครับ

(function () { var div = document.createElement('div'); div.id = 'icWebChat'; var script = document.createElement('script'); script.type = 'text/javascript'; script.async = true; script.src = 'https://webchat.getalice.ai/index.js'; var lel = document.body.getElementsByTagName('script'); var el = lel[lel.length - 1]; el.parentNode.insertBefore(script, el); el.parentNode.insertBefore(div, el); script.addEventListener('load', function () { ICWebChat.init({ selector: '#icWebChat', platformId: '9984', primaryId: '17533114eeb411ecb1ae22058d3b546b', token: '2d1dbd86aff1f307d8bbad3582917328ed50f09299af1461' }); }); })();